วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อเมริกาเหนือ

            ลักษณะทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาเหนือมีทั้งเศรษฐกิจแบบเสรีประชาธิปไตยและแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ คือ มีทั้งเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ  
1.  กลุ่มที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระดับสูง ได้แก่  สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ทั้งสองประเทศนี้จัดเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของทวีปและของโลก นอกจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมแล้ว ด้านพาณิชยกรรมและด้านเกษตรกรรมก็นับว่ามีความก้าวหน้าสูงด้วยรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในระดับสูงเกิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อปี
ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนนาดามีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม มีการค้าขายแบบเสรีกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยกันนอกจากนั้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก็มีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วยดีมาตลอด
2.  กลุ่มที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจต่ำ ได้แก่ ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและประเทศในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ประเทศเหล่านี้จัดเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งทางด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือต่ำกว่านั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยที่บางประเทศก็ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น คิวบา เป็นต้น
1. การเกษตรกรรม
1.1  การเพาะปลูก เป็นดินแดนผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ทั้งนี้เป็นเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการผลิตพืชผลเพื่อให้ได้ปริมาณมาก เช่น การใช้เครื่องจักร การคัดเลือกพันธุ์พืช การใส่ปุ๋ย การชลประทาน เป็นต้น  ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการผลิตข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง และถั่วเหลือง รวมทั้งการผลิตพืชในเขตร้อน เช่น อ้อย ฝ่าย ยาสูบ ผักผลไม้ เป็นต้น

1.2 การเลี้ยงสัตว์ ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือเป็นผู้นำทางด้านการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรมีความชำนาญ
ในการเลี้ยงสัตว์   มีการทำฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะชาวอเมริกันนิยมรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมเนย  มากกว่าอาหารโปรตีนชนิดอื่น ประกอบกับมีทุ้งหญ้าเลี้ยงสัตว์กว้างขวางมาก และมีอากาศเหมาะสมที่จะเลี้ยงสัตว์ แหล่งเลี้ยงสัตว์พวกโคเนื้อส่วนมากจะมีอยู่ในเขตทุ่งหญ้าตะวันตก ไม่ห่างไกลจากเทือกเขาร๊อกกี้มากนัก เรียนว่า เกรตเพลน (Great Plain)  เป็นแหล่งที่มีอากาศแห้งแล้งอุดมสมบูรณ์ด้วยหญ้า ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีปมีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณใกล้ทะเลสาบใหญ่ ซึ่งมีอากาศเย็นและมีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์  นอกจากการทำฟาร์มแล้วยังมีการเพาะปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย  ทำให้สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพดี สามารถผลิตเนื้อ นม และเนยได้ปริมาณมาก ในเขตอากาศหนาวเย็น มีการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ประเภทขน เช่น มิ้งค์  เออร์มิน ส่วนตามชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก มีอากาศหนาวเย็นยิ่งขึ้นมีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์   แหล่งเลี้ยงวัวนม ได้แก่บริเวณรอบ ทะเลสาบ ทั้ง 5
1.3  การล่าสัตว์  การลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพที่ทำกันอยู่บ้างในบริเวณที่มีอากาศหนาวในเขตภาคเหนือและแถบป่าเมืองร้อน แต่เดิมมาอาชีพล่าสัตว์ทำกันมากในเขตป่าไม้ทางภาคเหนือที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ประเภทขนปุย เช่น มิงค์ สุนัขจิ้งจอก หมี บีเวอร์ เออร์มิน แต่ปัจจุบันมีความสำคัญลดน้อยลงบางแห่งก็นำสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยงแทน
1.4 การประมง บริเวณน่านน้ำชายฝั่งและนอกฝั่งมหาสมุทร์แอตแลนติกและแปซิฟิกอุดมสมบูรณ์ไปด้วนสัตว์ทะเลจึงมีการจับปลาในเขตน้ำตื้นชายฝั่งแกรนด์แบงก์ แหล่งปลาชุกชุมอยู่
1.5  การทำป่าไม้  ทวีปอเมริกาเหนือ มีการผลิตไม้ได้มากรองจากทวีปยุโรป เพราะมีเนื้อที่ป่าไม้กว้างขวางมาก คือ ประมาณ 1 ใน 3 ของเนื้อที่ทั้งหมด เป็นป่าไม้ที่ให้ประโยชน์มาก
1.6  การทำเหมืองแร่  ทวีปอเมริกาเหนือมีการทำเหมืองแร่ติดต่อกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก สินแร่ที่ผลิตได้มากของทวีป
2. การอุตสาหกรรม 
                   อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ได้ชื่อว่าล้ำหน้าที่สุดในเรื่องการอุตสาหกรรมของโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีโรงงานผลิตสินค้าชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นชาติผู้นำทางด้านอุสาหกรรมของโลก รายได้ประชาชาติมากกว่าร้อยละ 50 มาจากการผลิตสินค้า
 3. การพาณิชยกรรม 
                   ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นตลาดการค้าสำคัญของโลก มีประชากรจำนวนมาก เศรษฐกิจดี โดยเฉพาะประชากรในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาซึ่งทั้งสองประเทศเป็นตลาดการค้าเสรี จึงมีสินค้าจากทั่วทุกมุมโลกส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศทั้งสอง สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบและอาหาร เช่น สินแร่ น้ำมันปิโตรเลียม พืชผลทางการเกษตร อาหารสำเร็จรูป ในขณะที่สินค้าขาออกจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ เครื่องบิน อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล รวมทั้งอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และอายุธยุทโธปกรณ์  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น